Home |  Login  
       
 
หน้าหลัก > ข่าว  
โครงการฝึกอบรม หลักสูตร "วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน" รุ่นที่ 67 ระุหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2559
ประเภท : ข่าวสัมมนา/ฝึกอบรม/บรรยาย
เริ่มประกาศเมื่อ : 18-03-2559สิ้นสุดเมื่อ : 28-06-2559 อ่าน 2342 ครั้ง ประกาศโดย : ภาควิชาพืชสวน 
 
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตผลพืชสวน สำหรับตลาดภายในประเทศและการส่งออก โครงการย่อยที่ 2 การยืดอายุการเก็บรักษา การลดความเสียหาย และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออก ภายใต้โครงการเกษตรเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนา ปีงบประมาณ 2559
ร่วมกับโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มก.(กพส.)
หลักสูตร วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน รุ่นที่ 67
ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2559
ณ ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
-------------------------------------------------------------
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรม การเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าทางเกษตรกรรมของประเทศโดยเฉพาะผลิตผลทางพืชสวน เช่น ผัก ผลไม้ และดอกไม้จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้ ซึ่งปัจจุบันผลิตผลพืชสวนหลายชนิด ได้มีการส่งออกและทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอันมาก เช่นทุเรียน มะม่วง มังคุด ลำไย สับปะรด เงาะ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวม 13,333 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการส่งออกผักสดเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน มูลค่ารวม 1,089.04 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มกราคม-ตุลาคม 2558) อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่สามารถส่งออกผลิตผลเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเทคโนโลยีที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก หรือผู้เกี่ยวข้องใช้ปฏิบัติกับพืชเหล่านี้ภายหลังเก็บเกี่ยวยังไม่ดีพอ ประกอบกับผลิตผลที่เก็บเกี่ยวจากต้นมาแล้วยังคงมีชีวิตอยู่ และใช้อาหารที่สะสมอยู่เพื่อความอยู่รอด เมื่อผลิตผลใช้อาหารที่สะสมอยู่หมดไป ผลิตผลนั้นก็จะตายไปในที่สุด/เน่าเสีย อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ผลิตผลอาจเสื่อมสภาพไปได้เนื่องจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงด้วย ดังนั้นหากเกษตรกร ผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องรู้และเข้าใจเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ในงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการผลผลิตสด หรือการส่งออก งานสอน งานวิจัย ทำให้สามารถลดการสูญเสียทั้งทางด้านผลผลิต ด้านทุนรวม แรงงาน และการตลาด อีกทั้งยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ทำให้สามารถส่งออกผลิตผลไปยังตลาดต่างประเทศที่อยู่ห่างไกลทางเรือได้เป็นปริมาณมากขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ส่งออก ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพในด้านการส่งออกให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น และ/หรือจากการจัดการฝึกอบรมอาจส่งผลถึงความร่วมมือระหว่างงานภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งออกผักและผลไม้เมืองร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตผลพืชสวน สำหรับตลาดภายในประเทศและการส่งออก โครงการย่อยที่ 2 การยืดอายุการเก็บรักษา การลดความเสียหาย และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออก โครงการเกษตรเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนา ปีงบประมาณ 2559 โดยศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มก.(กพส.) จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน” รุ่นที่ 67 ขึ้นสำหรับผู้ส่งออก ผู้ประกอบการ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการปฏิบัติด้านสรีรวิทยา และเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวพืชสวนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ถ่ายทอดและเผยแพร่ไปยังเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้


2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจถึงหลักเบื้องต้นในด้านสรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวพืชสวน
2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้และแนวคิดที่ได้รับไปปรับใช้ในทางการค้า และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้
2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดและเผยแพร่ไปยังเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้
2.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

3. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไปใช้
4. ระยะเวลาการอบรม และจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
- ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2559 รับจำนวน 30 คน
5. สถานที่ฝึกอบรม และสถานที่พัก
- ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
6. หัวข้อในการฝึกอบรม
6.1 ภาคบรรยาย
- โลจิสติกส์ ผัก ผลไม้เพื่อการส่งออก - สรีรวิทยาของผลิตผลพืชสวนหลังเก็บเกี่ยว
- คุณภาพและมาตรฐานผัก และผลไม้ส่งออก- โรคหลังเก็บเกี่ยว และการควบคุม
- การเก็บรักษาและการทำให้เย็น - ผักและผลไม้แปรรูปพร้อมบริโภค
- เอทิลีน และการบ่ม - การบรรจุหีบห่อ - แมลงหลังการเก็บเกี่ยว
- การประยุกต์ใช้เทคนิค NIR ในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตพืชสวนโดยไม่ทำลาย
- อันตรายจากจุลินทรีย์ปนเปื้อนกับการเกิดโรคของมนุษย์ และเทคนิค PCR ในการตรวจสอบเชื้อ
6.2 ภาคปฏิบัติการ - สาธิต
- การบ่มผลไม้ด้วยแก๊สเอทิลีน และวิธีการอื่นๆ - การเก็บรักษาและการทำให้เย็น
- การวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี
7. ค่าใช้จ่าย
งบประมาณโครงการเกษตรเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนา ปีงบประมาณ 2559
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตผลพืชสวน สำหรับตลาดภายในประเทศและการส่งออก โครงการย่อยที่ 2 การยืดอายุการเก็บรักษา การลดความเสียหาย และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออก ร่วมกับโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มก.(กพส.)
ค่าลงทะเบียน
- เสียค่าลงทะเบียน 3,500 บาท

8. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

9. การประเมินผลการฝึกอบรม
ประเมินผลการสอนของวิทยากร ประเมินผลเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาในหลักสูตร และประเมินผลการจัดโครงการฝึกอบรม โดยใช้แบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดโครงการ
10. การรับรองผลการฝึกอบรม
เมื่อผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าฟังการบรรยายและปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด จะได้รับประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้เป็นเกียรติประวัติสืบไป
 
รายละเอียดเพิ่มเติม :
ตารางฝึกอบรม รุ่นที่ 67
ใบสมัครโครงการ หลังการเก็บเกี่ยว รุ่นที่ 67
หนังสือเชิญร่วมเข้าร่วมฝึกอบรม รุ่นที่ 67
 
 
 
ข่าวคณะเกษตร กำแพงแสน
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวนิสิต/ฝึกงาน
ข่าวการศึกษา/ทุนการศึกษา
ข่าวประชุมวิชาการ/ทุนวิจัย
ข่าวสัมมนา/ฝึกอบรม/บรรยาย
ข่าวรับสมัครงาน
ประกาศผลการสอบคัดเลือก
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าววิเทศสัมพันธ์
คำสั่ง/ประกาศ
 
 
   
พัฒนาระบบโดย : น.ส.ดวงกมล ด้วงจุมพล หน่วยผลิตสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140